เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 10.ราชสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า อุบาสกกล่าวกับเธอ
ว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิดขอรับ’ เธอก็ไม่ยอมรอ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอผู้ซึ่งอุบาสกกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านจงรอสักวันหนึ่งเถิด
ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[538] ก็ พระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์หรือคหบดีผู้ใดผู้หนึ่งส่งทูตมา
ถวายทรัพย์เป็นค่าจีวรเจาะจงภิกษุพร้อมกับสั่งว่า “ท่านจงเอาทรัพย์เป็นค่าจีวร
นี้ซื้อจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร” ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้มาเจาะจงพระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูตนั้นอย่างนี้ว่า
“พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล” ถ้าทูต
นั้นพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ก็มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม”
ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นี้เป็น
ไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าตกลงกับคนที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่าน
จงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวงหรือเตือน 2-3 ครั้งว่า “อาตมา
ต้องการจีวร” เมื่อทวงหรือเตือน 2-3 ครั้ง ให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็น
การดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ถึง 4 ครั้ง 5 ครั้ง หรือ 6 ครั้ง
เป็นอย่างมาก เมื่อยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ถึง 4 ครั้ง 5 ครั้ง หรือ 6 ครั้งเป็นอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :65 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 10.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
มากแล้วให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพยายามเกินกว่านั้น ให้เขาจัด
จีวรสำเร็จได้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไป
ในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา กล่าวว่า “ทรัพย์เป็นค่าจีวรที่ท่านส่งไป
เจาะจงภิกษุรูปใดไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุรูปนั้นเลย ท่านจงทวง
ทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าเสียหายเลย” นี้เป็นการทำที่สมควร
ในเรื่องนั้น

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[539] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ครองราชสมบัติ
ที่ชื่อว่า ราชอมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ คนที่เหลือ ยกเว้นพระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์
ชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา (แก้วตาแมว
หรือแก้วผลึก)
คำว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ คือ แลกเปลี่ยน
คำว่า นิมนต์ให้ครอง คือ จงถวาย
ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นพึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็น
ค่าจีวรนี้มาเจาะจงท่าน ท่านจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้เถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูต
นั้นอย่างนี้ว่า “พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควร
ตามกาล” ถ้าทูตกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :66 }